chaicatawan

อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค้นพบโกงกางพันธุ์ใหม่ของโลก.. โกงกางทูลกระหม่อม

เมื่อเดือนต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ผมและเพื่อนๆสื่อมวลชน ได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5รอบ 2 เมษายน 2558 เป็นกิจกรรมปลูกป่า และปล่อยพันธ์สัตว์น้ำถวายเป็นพระราชกุศล พร้อมด้วยศึกษาสำรวจ ต้นโกงกางทูลกระหม่อม ซึ่งเป็นต้นโกงกางพันธ์ใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จ.เพชรบุรี

0

.
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งอยู่ในค่ายพระรามหก ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดย ดร.สนใจ หะวานนท์ รองผู้อำนวยการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ได้ค้นพบโกงกางพันธุ์ใหม่ ในสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม ซึ่งทรงปลูกไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นการผสมพันธุ์กันระหว่างโกงกางพันธุ์ใบใหญ่กับโกงกางพันธุ์ใบเล็ก ให้ชื่อว่า “โกงกางทูลกระหม่อม”
1
2
ดร.สนใจ หะวานนท์
.
.
.
กิจกรรมในครั้งนี้ เราได้พักค้างในบ้านพักของอุทยาน เป็นเวลา 1 คืน เป็นบ้านพักชั้นเดียว 4 ห้องนอน ห้องละ 2 คน รวม 8 คน เปิดให้นักท่องเที่ยวเช่าพักในราคาไม่แพง
3
4
5
.
บ้านพักมี 1 ห้องนั่งเล่น 2ห้องน้ำ ส่วนห้องนอน มีเตียงเดี่ยวห้องละ 2 เตียง ติดแอร์เย็นฉ่ำ
6
7
.
.
กิจกรรมแรก ที่เราเข้าร่วมก็คือ กิจกรรมปลูกป่า และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ถวายเป็นพระราชกุศล
8
9
.
เห็นทะเลแล้วผมรู้สึกดี แต่อากาศก็กำลังร้อนกันเลย
10
11
12
13
.
บรรดาสื่อมวลชน ต่างเก็บภาพนำไปประชาสัมพันธ์
14
15
16
.
ต้นกล้าโกงกางเตรียมปลูก
17
18
19
.
สังเกตุเห็นปลาตีนไหมครับ มีเยอะมาก
20
.
.
สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

.
ต่อด้วยการเดินสำรวจต้นโกงกางสายพันธุ์ใหม่ ณ สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม ซึ่งดร.สนใจ หะวานนท์ รองผู้จัดการใหญ่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวว่า
“อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ค่ายพระรามหก ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะอนุรักษ์พันธุกรรมพืช บริเวณป่าชายแดนให้กลับมาอุดมสมบรูณ์ดังเดิม ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำรัสในปี พ.ศ. 2534 ว่าป่าชายเลนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์บริเวณชายฝั่ง ต้องการให้หน่วยงานของรัฐและประชาชนช่วยกันปลูกป่าชายเลนให้เพิ่มมากชึ้น
2.0
.
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ จึงทรงปลูกต้นโกงกางพันธุ์ใบใหญ่ และโกงกางพันธุ์ใบเล็ก ในบริเวณ สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ทรงปลูกด้วยพระองค์เอง จำนวน 202 ต้น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 แล้วทรงให้ตำรวจตระเวนชายแดนที่ค่ายพระรามหก ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นมีการปลูกต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ. 2544 ใน สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งในอดีตเป็นดินทรายแห้งแล้ง หลังจากทรงปลูกป่าโกงกางต้นแรกเมื่อ 20 ปี ที่แล้วมาถึงวันนี้พื้นที่แห่งนี้ก็เขียวขจีขึ้น”
2.1
.
นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปสามารถมาเดินเที่ยวชม และศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนได้ ชายคาตะวัน ขอแนะนำ
2.2
.
.
ต้นโกงกางทูลกระหม่อม
.
ดร. สนใจ หะวานนท์ กล่าวต่อว่า “ ไม่น่าเชื่อจะมีต้นโกงกางพันธุ์ใหม่โตขึ้นมาอย่างโดดเด่น ท่ามกลางต้นโกงกางใบใหญ่ และต้นโกงกางใบเล็กโดยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558 ผมได้ออกสำรวจบริเวณสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม ได้พบต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ ให้ชื่อว่า ต้นโกงกางทุลกระหม่อม (ชื่อวิทยาศาสตร์Rhizophora X sp. วงศ์ RHIZOPHORACEAE) เพราะขึ้นอยู่ในบริเวณในป่าชายเลนทูลกระหม่อม ซึ่งเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ของต้นโกงกางใบใหญ่และต้นโกงกางใบเล็ก มีลำต้นสูงใหญ่แข็งแรง เรือนรากออกจากลำต้นถี่เป็นจำนวนมาก มีรากค้ำยันสูงถึง 3 เมตร เป็นรากที่แข็งแรงสามารถพยุงลำตันขนาดใหญ่ได้ แตกแขนงดูดอาหารเลี้ยงลำต้นให้เจริญเติบโตได้ดี” ต้นนี้แหละครับโกงกางพันธ์ใหม่
IMG_1002+3
.
ดร.สนใจ กล่าวต่ออีก
“ต้นโกงกางทูลกระหม่อมมีลักษณะทั่วไปดังนี้ รูปทรงใบกับลำต้นเป็นพุ่มใบหนาแน่นกว่าโกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็กที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ลำต้นสูงประมาณ 13 เมตร เส้นรอบวงลำต้นเหนือรากค้ำยัน 20 เซนติเมตร ถึง 38 เซนติเมตร ขึ้นอยู่ริมแพรกที่ชื้นแฉะ มีรากค้ำยันพุ่งออกข้าง สูงกว่าแนวตั้งฉากกับลำต้นเป็นจำนวนมากและพุ่มใบเด่นเป็นสง่ากว่าต้นอื่นๆ
IMG_1017+3+
IMG_1023+3+
.
ลักษณะใบแผ่กว้างขนาดใกล้เคียงกับโกงกางใบใหญ่ แต่สีเขียวเข้มกว่า ปลายใบจะเรียวแหลมกว่า และโคนใบเรียวแหลมกว่าโกงกลางใบใหญ่ จะไปคล้ายกับโกงกางใบเล็กซึ่งใบจะเล็ก ใบเล็กจะมีเส้นกลางใบสีแดง โกงกางใบใหญ่เส้นกลางใบจะเป็นสีเหลืองออกเขียวๆ เมื่อผสมกันแล้วโกงกางพันธุ์จะมี โคนเส้นกลางใบ (midrib) เป็นสีแดงอ่อนยาวไปเกือบครึ่งใบคล้ายโกงกางใบเล็ก เป็นลูกผสมระหว่างโกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็ก หลังใบมีจุดดำกระจายทั่วไปคล้ายโกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็ก แต่มีจุดดำหนาแน่นกว่าโกงกางใบใหญ่
IMG_1031+3+
.
ทางอุทยาเราได้ทำที่สำหรับชมต้นโกงกางพันธ์ุใหม่อย่างดี
IMG_1056+3
.
ดอกโกงกลางใบใหญ่จะออกเป็นช่อ ก้านดอกยาวประมาณ 4 -5 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งจะมี 5 – 8 ดอก ส่วนโกงกางใบเล็ก ก้านดอกจะสั้นยาวเพียง 0.8 เซนติเมตร และออกดอกบริเวณง่ามใบ ดอกตูมจะกลม แก่แล้วจะมีสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่อง ต่างจากโกงกางใบใหญ่ซึ่งมีดอกตูมสีเขียวแก่แล้วจะสีเหลือง ส่วนดอกโกงกางพันธุ์ใหม่ ก้านดอกจะยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวกว่าโกงกางใบเล็ก ส่วนดอกจะออกเป็นคู่เหมือนโกงกางใบเล็ก เวลาดอกบานจะไปเหมือนโกงกางใบใหญ่มีสีเหลือง ส่วนโกงกางใบเล็กหลังดอกจะเป็นสีน้ำตาลเข้มแตกร่อง แตกหักง่ายเพราะกลีบดอกแข็ง
IMG_1066+3+
.
ต้นโกงกางที่อยู่รอบๆทั้งใบเล็กและใบใหญ่ มีขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งที่มีอายุใกล้เคียงกันสูงแค่ประมาณ 6 -7 เมตร เท่านั้น ลำต้นก็ไม่เป็นพุ่มสูงใหญ่ จึงเห็นได้ว่า โกงกางทูลกระหม่อม สายพันธุ์ใหม่นี้ แข็งแรงโดดเด่นกว่าอย่างเห็นได้ชัด เหมือน ม้าผสมกับลา ลูกออกมาเป็นล่อ ก็แข็งแกร่งใช้บรรทุกชองหนักเดินทางไกลได้ดี แต่เป็นหมัน เหมือนกับโกงกางพันธุ์ใหม่นี้ก็เป็นหมัน อายุประมาณ 13 ปี แล้วได้ออกดอกตูมตอกบานให้ แต่ไม่เป็นฝัก บริเวณใต้ลำต้นก็ไม่มีฝักให้เห็นสักฝักเดียว
IMG_1070+3
.
แต่อย่างไรก็ตามเรายังต้องมีการการศึกษาต่อ เกี่ยวกับพันธุกรรมที่มันผสมออกมาเป็นโกงกางพันธ์ุผสม ว่ามียีนของโกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็กอย่างไร ผสมกันอย่างไรถึงได้ลูกออกมาแข็งแรง โตเร็วโดดเด่นสวยงาม จะต้องมีการศึกษาเรื่องพันธ์ุกรรมของ โกงกางทูลกระหม่อม กันต่อไป การที่เราค้นพบหนึ่งเดียวในสยาม ต้นแรกของประเทศไทย แล้วเราค้นพบใกล้ๆวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน 2558 ครบ 60 พรรษา
IMG_1071+3+
.
แสดงให้เห็นว่าพระบารมีของพระองค์ท่าน ที่มาสร้างศูนย์ป่าชายเลนทูลกระหม่อม เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าอนุรักษ์เกี่ยวกับป่าชายเลน จึงได้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้น ต่อไปเราผสมเกสรได้สามารถจะมีฝักหรือต้นอ่อน ที่จะขยายพันธุ์ต่อได้ เราก็อาจจะได้โกงกางสายพันธุ์ใหม่นี้มาปลูกในศูนย์ป่าชายเลนทูลกระหม่อม ทำให้ป่าชายเลนแหล่งนี้อุดมสมบรูณ์เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ในบริเวณนี้ ในอนาคตก็เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืช ศูนย์การเรียนรู้ศึกษาดูงานของนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศด้วย”
IMG_1074+3
IMG_1081+3
.
.
หลังจากนั้นก็เดินชมบริเวณโดยรอบ ได้บรรยากาศของป่า สูดอ๊อกซิเจนได้อย่างเต็มปอด
IMG_0997+3
IMG_1098+3
IMG_1110+3
IMG_1112+3
IMG_1113+3
IMG_1120+3+
หลังจากศึกษาและชมต้นโกงกางพันธุ์ใหม่กันแล้ว ก็ได้เวลากลับเข้าบ้านพัก
.
.
อรุณสวัสดิ์ทะเลชะอำ
.
เช้าวันใหม่ ผมและเพื่อน ตื่นกันตั้งแต่ ตี5 เพื่อไปชมแสงแรกที่หาด และรอลุ้นไข่แดงพระอาทิตย์ขึ้น บรรยากาศตอนเช้าๆแบบนี้ ผมว่ามันเป็นอะไรที่วิเศษมากๆครับ ได้เดินชายหาด ได้สัมผัสกับลมทะเล ได้เห็นท้องฟ้าสีสวยๆ ได้ฟังเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ผมและเพื่อนถ่ายภาพกันอย่างมีความสุข
4.1
.
ผมได้ปลดปล่อย ลืมทุกสิ่งทิ้งทุกอย่างชั่วขณะ
4.2
.
และเช้านี้ เราได้เห็นพระอาทิตย์ดวงงาม สมใจ
4.3
.
เราถ่ายรูปกันไปเรื่อยๆ
4.4
.
มองอะไรก็สวยไปหมด
4.5
.
แสงแดดเริ่มแรงขึ้น ต้นไม้โดนแสงริมไล้ เกิดมิติสวยงาม
4.6
4.7
4.8
4.9
4.10
4.11
.
ใบนี้ผมชอบมาก แสงสวยลอดใบไม้ ดูศิลป์ดี
4.12
.
ต้นไม้ต้นเดิม พอได้โดนแสงแดด รู้สึกได้ถึงความมีชีวิตและสวยงาม
4.13
4.14
.
เมื่อแดดแรงขึ้นมากๆ ก็ได้เวลากลับเข้าบ้านพัก ไปรับประทานอาหารเช้ากัน
4.15
.
ระหว่างเดินกลับ เห็นอะไรสวย ก็ถ่ายไปเรื่อยๆ
4.16
4.17
.
.
ร่วมกิจกรรมเสวนา
.
ก่อนเดินทางกลับ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาที่ห้องประชุมชั้น2 อาคารศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อเรื่อง การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.สนใจ หะวานนท์ ดร.วีระชัย ณ นคร อาจารย์บุหลง ศรีกนก รศ. ดร.ดวงใจ สุขเฉลิม
5.1
IMG_1296+3+
.
ของที่ระลึก
IMG_1292+3
IMG_1298+3
.
บรรยากาศภายในห้องเสวนา
IMG_1301+3
IMG_1308+3
.
หลังจากนั้นผมก็เดินชมบริเวณโดยรอบ และได้ถ่ายภาพดอกคูน ภายในอุทยานฯ ซึ่งกำลังบานสะพรั่งรับลมร้อน สีเหลืองสวยเชียวครับ ถ่ายรูปดอกคูนเสร็จ ก็ได้เวลากลับกทม.
IMG_1312+3+
IMG_1313+3+
IMG_1319+3+
IMG_1320+3
IMG_1335+3
.
.
ท่านใดสนใจอยากมาเที่ยว อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร หรืออยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ ติดต่อดร.สนใจ หะวานนท์ รองผู้อำนวยการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ผู้ค้นพบต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ ได้ที่เบอร์ 081-1731161, 081-8114917
IMG_1339+3+
0
.
เที่ยวไป ยิ้มไป เมืองไทยของเรา
แซงค์ ชายคาตะวัน

Comments

comments

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *